

น้ำลำไย
ลำไย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในบ้านเรา ปลูกเป็นจำนวนมากในภาคเหนือและมีหลายสายพันธุ์ เมื่อลำไยพร้อมเก็บเกี่ยวจะเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน จึงต้องมีวิธีการแปรรูปแบบต่างๆ เช่น ลำไยอบแห้ง เครื่องดื่ม หรือกวน เป็นต้น นอกจากมีรสชาติที่หวานอร่อยแล้วยังมีประโยชน์มากมายอีกด้วย
ส่วนผสม
– น้ำเปล่า 2 ลิตร
– น้ำตาลทราย 200 กรัม
– ลำไยอบแห้ง 100 กรัม
โภชนาการ
– มีแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ซึ่งช่วยให้การทำงานของหัวใจเต้นเป็นปกติ
– มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยช่วยป้องกันการพัฒนาการของเซลล์มะเร็ง
– มีวิตามินซี และธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในด้านสุขภาพปากและฟัน
– สารโพลีฟีนอล ต่อต้านริ้วรอยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ชะลอความแก่
น้ำลิ้นจี่
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่มีรสหวานและมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ให้ความสดชื่น แก้กระหายน้ำ รสและกลิ่นของลิ้นจี่นิยมนำไปใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่ม ผลของลิ้นจี่ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลายกหลายอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย และให้พลังงานไม่สูงมากนักหากทานในปริมาณที่พอเหมาะ
โภชนาการ
– มีวิตามิน บี 1 ที่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา
– วิตามินบี 2 ช่วยร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด
– แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
– มีไนอะซีน เปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงานช่วยระบบย่อยอาหาร
ส่วนผสม
– ลิ้นจี่สด 5 กิโลกรัม
– น้ำสะอาด 10 กิโลกรัม
– น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม
– เกลือ 30 กรัม
– กรดมะนาว 15 กรัม
ชาผักเชียงดา
ผักเชียงดา มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย เป็นพืชพื้นบ้านที่พบได้ทางภาคเหนือของไทย ที่มีอากาศหนาว ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ นิยมปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อนำยอดไปประกอบอาหารประเภทต่างๆ เช่น ผัด เครื่องเคียงกับน้ำพริก แกง นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปใบผักเชียงดาเป็นชาสมุนไพร เพื่อรักษาสุขภาพได้อีกด้วย
ส่วนผสม
– น้ำร้อน 150 มิลลิลิตร
– ชาผักเชียงดา 1 ช้อนชา
โภชนาการ
– มีฤทธิ์ที่ช่วยลดและคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
– ช่วยกระตุ้นระดับอินซุลินให้สมดุล
– ช่วยล้างสารพิษตกค้างและฟื้นฟูตับอ่อน
– ช่วยให้หลับสบาย คลายเครียด
– ช่วยในการเผาผลาญอาหารให้ดีขึ้น