วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาหารรูปแบบใหม่โดยเน้นการสร้างประสบการณ์และเชื่อมโยงกับชุมชน(New Experience) สร้าง 725 ประสบการณ์
2. เพื่อพัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงอาหารสร้างสรรค์รูปแบบใหม่บนฐานวัฒนธรรมอารยธรรมล้านนา (New Programs) สร้าง 70 โปรแกรมท่องเที่ยว
3. เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเชียงใหม่เชิงรุกผ่านช่องทางที่หลากหลาย (New Media)
1. The Rice Journey การเดินทางของเมล็ดข้าว
นําเสนอประสบการณ์และเรื่องราวที่น่าสนใจและสร้างความประทับใจเกี่ยวกับอาหารจากข้าวกว่าจะมาเป็นอาหารหนึ่งจานพร้อมรับประทาน ต้องเริ่มต้นอย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้างและสามารถนํามําแปรรูปเป็นอาหารโดยวิธีการใด แกะรอยและบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางความเป็นมาของข้าวที่ถูกนํามาปรุงเป็นอาหารหรือขนมในท้องถิ่นล้านนา ตัวอย่างเช่นประสบการณ์และเรื่องราวของ ข้าวแต๋น ข้าวหนุกงา หรือที่มาของเส้นขนมจีน เป็นต้น
2. The Forest Food Fellowship เรียนรู้มิตรภาพกับอาหารกลาง
นําเสนอประสบการณ์ที่น่าสนใจหรือประทับใจเกี่ยวกับการทําอาหารในป่าโดยใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์จากธรรมชาติ เช่น การหุงข้าวในกระบอกไม้ไผ่การทําอาหารพื้นบ้านอย่างเช่น หลามไก่ในกระบอกไม้ไผ่ที่ดอยปู่หมื่น เป็นต้น หรือ นําเสนอ ประสบการณ์การเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวเขารวมทั้งวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวป่าชาวดอยที่ท่านประทับใจเมื่อได้ไปเยือน และ เชื่อมโยงเข้ากับอาหารของท้องถิ่นพื้นเมืองหรือชนเผ่านั้น ๆ
3. The Craft Cafe Wanderers ท่องศิลปะงานชง
นําเสนอประสบการณ์การไปเยี่ยมชมไร่ ชา กาแฟ หรือ โกโก้ โดยต้องระบุพื้นที่ที่ถ่ายทอดขั้นตอนการปลูก การแปรรูป และจุดเด่นของแต่ละหมู่บ้าน หรือนําเสนอประสบการณ์หรือความประทับใจในการเดินทาง กิน ดื่ม อย่างมีศิลปะในเชียงใหม่
4. Discovering Authentic Lanna Tastes รสชาติแห่งจิตวิญญาณล้านนา
นําเสนอประสบการณ์ที่น่าสนใจหรือประทับใจเกี่ยวกับการทําอาหารในป่าโดยใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์จากธรรมชาติ เช่น การหุงข้าวในกระบอกไม้ไผ่การทําอาหารพื้นบ้านอย่างเช่น หลามไก่ในกระบอกไม้ไผ่ที่ดอยปู่หมื่น เป็นต้น หรือ นําเสนอ ประสบการณ์การเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวเขารวมทั้งวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวป่าชาวดอยที่ท่านประทับใจเมื่อได้ไปเยือน และ เชื่อมโยงเข้ากับอาหารของท้องถิ่นพื้นเมืองหรือชนเผ่านั้น ๆ
5. Herb and Turf ชีวิตสมดุลด้วยสมุนไพร
นําเสนอประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ อาหารเพื่อรักษาโรคโดยการนําสมุนไพรมารังสรรค์เป็นเมนูอาหารอันน่าลิ้มลอง ถ่ายทอดประการณ์ตั้งแต่วิธีการปรุงสมุนไพร และนําสมุนไพรมาปรุงเป็นเมนูอาหารที่สามารถทําให้เกิดการรักษาสุขภาพจากเมนูนั้นๆ เกี่ยวโยงถึงอาหารเป็นยา กินเพื่อสุขภาพที่ดี และรักษาโรคเบื้องต้น
6. Farmtastic Farm to function/Farm to table
นําเสนอประสบการณ์การดูแลสุขภาพในการทานอาหารที่ทําจากวัตถุดิบที่ปลอดภัย และวิธีการปรุงน้อยที่สุดเช่น เยี่ยมชมฟาร์มออร์แกนิคและนําผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหาร
7. Secret of Local Ingredient ตามหาความลับของเครื่องปรุง
นําเสนอการผลิตเครื่องปรุงท้องถิ่น เช่น ถั่วเน่าแคบ ปลาร้า พริกลาบ โดยเป็นการเสนอประสบการณ์ตั้งแต่การเตรียม
วิธีการทําตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ถั่วเน่าแคบ นํ้าปู๋ มะแขว๋น
Module 1 : เส้นทาง Lanna Gastronomy ” คิดถึงเชียงใหม่ “
หัวข้อบรรยาย :
ผลิตวัตถุดิบปลอดภัยสู่วัฒนธรรมอาหารล้านนาโดย
ผศ.ดร. ต่อนภา ผุสดี
หัวข้อบรรยาย :
การพัฒนาอาหารล้านนาด้วยวิทยาศาสตร์
การถอดรหัสนวัตกรรมอาหารล้านนา
โดย ผศ.ดร. ยุทธนา พิมลศิริผล
หัวข้อบรรยาย :
Chiangmai Mai Food Destination
โดย ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์
Module 2 : อาหารล้านนา โดย CMU mooc
Module 3 : Food Stylist และ อาหาร กับการท่องเที่ยว
หัวข้อบรรยาย :
การออกแบบตกแต่งอาหาร SIMPLY THE BEST
โดย คุณ สุทธิพงษ์ สุริยะ (ขาบ)
Ep.1 : Food Stylist part 1 – YouTube
Ep.2 : Food Stylist part 2 – YouTube
Ep.3 : Food Stylist part 3 – YouTube
หัวข้อบรรยาย :
อาหาร กับ การท่องเที่ยววิถีใหม่
โดย คุณ จักรพงษ์ ชินกระโทก
Module 4 : เส้นทาง Chef และนักชิม
หัวข้อบรรยาย :
เทคนิคการสร้างสรรค์อาหารด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น
โดย คุณ คุณ ภานุภน บุลสุวรรณ (เชฟแบล็ก)
Ep.1 : CHEF BLACK ep1 29 10 64 – YouTube
Ep.2 : CHEF BLACK ep2 – YouTube
หัวข้อบรรยาย :
เทคนิคการสร้างสรรค์และออกแบบอาหารรูปแบบ Chef table
โดย คุณ ธัญญะ ผลธัญญา (เชฟนิว)
หัวข้อบรรยาย :
เทคนิคและทักษะการเป็นนักชิม
โดย คุณ สันต์ สืบแสง (ป๋าปึกส์)
Module 5 : Food Story Telling
หัวข้อบรรยาย :
เทคนิคการเขียน Food Story Telling
โดย คุณ ภัทรียา พัวพงศกร
โดย คุณ จิรณรงค์ วงษ์สุนทร
หัวข้อบรรยาย :
เทคนิคการเขียน Content
โดย คุณ ชญาน์ทัต วงศ์มณี