ลำไย
ลำไย (longan) ในประวัติศาสตร์ต้นลำใย ประมาณปี 2439 มีคนจีนนำกิ่งลำไยมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ห้ากิ่ง ซึ่งพระองค์พระราชทานกิ่งลำไยต่อให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้าดารารัศมีนำลำไยปลูกที่กรุงเทพฯ 2 กิ่ง ซึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ลำไยตรอกจันทร์” ส่วนอีก 3 กิ่งพระราชชายามอบให้เจ้าน้อยตั๋น ณ เชียงใหม่ ไปปลูกที่บ้านขี้เหล็ก ตำบลสบแม่ข่า และที่หางดง ซึ่งนั่นก็คือลำไยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของลำไยบ้านเรา ลําไยที่ปลูกในภาคเหนือแบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ๆ คือ ลำไยเมือง กับ ลำไยกะโหลก
ลักษณะ
– เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสี
น้ำตาล ออกเดิกเป็นช่อ
– ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบสีน้ำตาลอม
เขียว ผลสุกสีน้ำตาลเข้ม เนื้อสีขาว
เมล็ดสีดำ
โภชนาการ
– เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้ หลับสบาย
เจริญอาหาร
– บำรุงเลือด
ลิ้นจี่
ลิ้นจี่ (Lychee) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่และเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งอำเภอฝางเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดจำนวน กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ และดำเนินการโครงการพืชอัตลักษณ์ในพืชลิ้นจี่จักรพรรดิ์ เพราะมีลักษณะเด่น คือ ต้องการอากาศเย็นชักนำการออกดอกและติดผล ผลลูกใหญ่ รูปทรงหัวใจ ไหล่ยกสองข้าง เปลือกสีแดง ผิวคล้ายกำมะหยี่ เนื้อหนาฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานกลิ่นหอม เป็นแหล่งสุดท้ายฤดู เกล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ลิ้นจี่ถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ในสมัยราชวงค์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง ทรงบัญชาให้ทหารม้า นำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ฉางอานนับตั้งแต่นั้นมาลิ้นจี่ก็ยกให้เป็นผลไม้ล้ำเลิศของจีน และลิ้นจี่เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักโรแมนติกด้วย
ลักษณะ
– เปลือกสีแดง ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์
เดียวกันกับลำไยและเงาะ
– เมล็ดในเป็นสีน้ำตาล
โภชนาการ
– อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ เช่น วิตามิน บี 1
วิตามินบี 2 ไนอะซีน
– วิตามินเอ ซี วิตามินบี 6 วิตามินอี โป
– แตสเซี่ยม ทองแดง สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม โฟเลต
และมีเส้นใยอาหารสูง
-เปลือกผลของลิ้นจี่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
สตรอเบอร์รี่
สตรอเบอรี่ (strawberry) ผลไม้เมืองหนาว กลิ่นหวานหอมรสชาติอร่อยสตรอเบอร์รี่ จัดอยู่ในตระกูลพืชล้มลุก ใช้ปลูกคลุมดิน แต่มีผลสามารถรับประทานได้ เป็นพืชในกลุ่มวงศ์เดียวกันกับบ๊วย แอปเปิ้ลและกุหลาบ โดยตัวสตรอเบอร์รี่เองนั้นมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งพันธ์ุแท้ และลูกผสมจึงทำให้สตรอเบอร์รี่มีรสชาติที่หลากหลาย ตั้งแต่เปรี้ยวมากๆจนถึงหวานจัดในส่วนของประเทศไทยนั้น ชาวอังกฤษที่มาทำงานเกี่ยวกับป่าไม้ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้นำต้นสตรอเบอรี่เข้ามาเมื่อประมาณปี 2477 ต่อมาสตรอเบอรี่พันธุ์นี้ถูกเรียกว่าพันธุ์พื้นเมือง เพราะไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน ผลมีลักษณะนิ่ม มีขนาดเล็ก สีผลออกเป็นสีปูนแห้ง และให้ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำ ต่อมาหลังจากปี 2517-2522 ได้มีโครงการวิจัยสตรอเบอรี่ โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการและได้รับทุนวิจัยจากทางฝ่ายงานวิจัยกระทรวงเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา (Agricultural Research Service ของ USDA) ระหว่างการวิจัยนี้ได้มีการนำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่างๆ เข้ามา เพื่อทดลองปลูกตามสถานีทดลองเกษตรที่มีระดับความสูงที่ต่างกัน รวมทั้งศึกษาเรื่องของโรคแมลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และตลอดจนทางด้านของการตลาด ผลจากการวิจัย ทำให้ได้สตรอเบอรี่พันธุ์ที่สามารถปลูกในพื้นที่กว้างได้
ลักษณะ
– เป็นพืชล้มลุก
– ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มี
เสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล
โภชนาการ
– สตรอว์เบอร์รีวิตามินเอ วิตามินบี และ
วิตามินซี
– มีกรดโฟลิก (Folic acid)
– มีเส้นใยอาหาร (Fiber)
ส้ม
ส้ม (Orange) นอกจากคำว่า ส้ม จะหมายถึงไม้ผลแล้ว ยังแปลว่า เปรี้ยว ซึ่งหมายถึงของหรืออาหารที่มีรสเปรี้ยว ต้นไม้ชนิดไม้ผลและเป็นไม้ยืนต้นมีอายุยาวนานหลายปีผลส้มเป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานสดและนำมาปรุงอาหาร ส้มบางชนิดมีรสเปรี้ยว บางชนิดมีรสหวานอมเปรี้ยว และบางชนิดมีรสหวานอร่อย ซึ่งในประเทศไทยมีสายพันธุ์ส้มที่หลากหลาย ได้แก่ ส้มจี๊ด ส้มแก้ว ส้มจุก และส้มสายน้ำผึ้งซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ส้มเพชรยะลาหรือส้มโชกุน ส้มแต่ละชนิดจะนิยมปลูกในพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยทางภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน เชียงใหม่ เชียงราย และสุโขทัย จะมีการปลูกสายพันธุ์ของส้มสีทองหรือส้มผิวทองเป็นจำนวนมาก
ลักษณะ
– เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีทรงพุ่ม
– กิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย
– ใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีทรงไข่ยาวรี
– ผลมีลักษณะทรงกลมแป้น ผิวเปลือกนอกเรียบ ผลมีสีเขียว
หรือสีเหลือง เนื้อแยกเป็นกลีบ ๆ
โภชนาการ
– แก้กระหาย
– มีวิตตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมาย เล่น วิตตามินซีสูง
วิตตามิน เอ บี และแคลเซียม ฯลฯ